9 เรื่องกฎหมายที่คุณต้องรู้ ในซีรีย์ “สืบสันดาน”


9 เรื่องกฎหมายธุรกิจที่คุณต้องรู้ หากคุณต้องไปแย่งชิงกองมรดกในครอบครัว “เทวสถิตย์ไพศาล”
*SPOLER ALERT ใครยังไม่ได้ดูซีรีย์สืบสันดาน (Master of the House) จาก Netflix กดเซฟไว้ก่อน*
หลังการตายของเจ้าสัวรุ่งโรจน์ พินัยกรรมของเจ้าสัวถูกเปิด แต่ละคนได้ทรัพย์สินที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง ทนายจะต้องนำพินัยกรรมนี้ไปตั้งผู้จัดการมรดกที่ศาลก่อน และทายาทจะต้องเซ็นให้ครบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาหลายเดือน
ถ้ามาวินและทนายความยื่นขอศาลตั้งผู้จัดการมรดก ภูพัฒน์ในฐานะทายาทโดยธรรมสามารถคัดค้านการจัดการมรดกได้ เพื่อให้เกิดการไต่สวนถึงพิรุธในลายเซ็น พยานที่อยู่กับเจ้าสัวตอนเซ็น รวมถึงใครเป็นคนจัดทำพินัยกรรม
นอกจากพินัยกรรมแบบธรรมดา (พิมพ์แล้วเซ็น) เจ้าสัวยังสามารถทำแบบเขียนเองทั้งฉบับ เอกสารฝ่ายเมืองที่อำเภอ หรือเอกสารลับที่อำเภอก็ได้



หุ้นที่ภูพัฒน์และพัดชาถืออยู่มากพอที่จะได้โควต้ากรรมการบริษัท หรือบอร์ดบริหาร รวมทั้งในฐานะผู้ถือหุ้นจะยังได้เงินปันผล และสามารถคัดค้าน VETO เรื่องสำคัญอย่าง การแก้ข้อบังคับ การเพิ่มทุน การควบรวมกิจการ
ที่ดินและคฤหาสน์ไม่ได้ระบุในพินัยกรรม เจ้าสัวต้องแบ่งให้ลูกคนละครึ่ง เมื่อมาวินตาย และยังไม่ได้ดำเนินการ ที่ดินและคฤหาสน์ของเจ้าสัว ลูกชายของมาวินจึงได้รับมรดกแทน การที่ภูพัฒน์จะยกให้ใครหรือขายยังคงต้องใช้ลายเซ็นของลูกชายมาวิน



แม้คนรับใช้จะทำสัญญาจ้างงานแล้ว แต่ก็ถือเป็นสัญญาไม่เป็นธรรม ทั้งจำนวนชั่วโมงการทำงานที่เยอะเกินไป ไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ สวัสดิการความเป็นอยู่ รวมถึงการขืนใจ สามารถร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่สำคัญเข้าข่ายคดีอาญาติดคุก โดยไม่ใช่แค่นายจ้างขืนใจ แต่รวมถึงกระทำการล่วงเกิน คุกคามหรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้างทุกเพศ

